top of page
Untitled-1.png
Untitled-3.png

APrime Plus Co., Ltd.

Logo-N2.png

มาตราฐาน GMP คืออะไร ทำไมอุตสาหกรรมอาหาร ยา เครื่องสำอางต้องใส่ใจ

อัปเดตเมื่อ 7 ต.ค. 2565



GMP อ่านว่า จีเอ็มพี มีชื่อเต็มว่า Good Manufacturing Practice เป็นคําที่คุ้นเคยในวงการอุตสาหกรรมต่างๆไม่ว่าจะเป็นยา เครื่องสําอาง และรวมถึงทางด้านอาหาร อาหารเสริม ซึ่งเป็นคําที่นํามาจากกฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกาที่กําหนดอยู่ใน Code of Federal Regulation title ที่ 21 part 110 หากเทียบกับมาตรฐานสากล คือ มาตรฐานอาหารระหว่างประเทศ FAO/WHO (Codex) จะใช้คําว่า General Principles of Food Hygiene ระบบ GMP อาหารเข้ามาในประเทศและเป็นที่รู้จักครั้งแรกในปี 2529 สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาได้นำ ซึ่งการดำเนินการทั้งหมดเพื่อประเมินและกระตุ้นผู้ประกอบการให้มีความสนใจที่จะพัฒนาสถานที่ผลิตเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง และหลังจากนั้นในปี 2535 เป็นต้นมา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา โดยกองควบคุมอาหารได้มีมาตรการให้การรับรองระบบ GMP (Certificate GMP) แก่ผู้ประกอบการในลักษณะสมัครใจ

GMP ตามกฎหมาย

GMP ที่เป็นกฎหมาย 2 ฉบับ คือ ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 193) พ.ศ.2543 และ (ฉบับที่ 239) พ.ศ.2544 เรื่อง วิธีการผลิต เครื่องมือเครื่องใช้ในการผลิต และการเก็บรักษาอาหาร (GMP สุขลักษณะทั่วไป) และประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 220) พ.ศ.2544 เรื่อง น้ำบริโภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท (ฉบับที่ 3) (GMP น้ำบริโภค) มีผลบังคับใช้สำหรับผู้ผลิตอาหารรายใหม่ ตั้งแต่ วันที่ 24 กรกฎาคม 2544 ส่วนรายเก่ามีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 24 กรกฎาคม 2546


GMP มี 2 ประเภท ดังนี้

1. General GMP หรือ GMP สุขลักษณะทั่วไป ซึ่งเป็นหลักเกณฑ์ที่นําไปใช้ปฏิบัติสําหรับอาหารทุกประเภท

ข้อกำหนด GMP สุขลักษณะทั่วไป

มีอยู่ 6 ข้อกำหนด ดังนี้

1. สถานที่ตั้งและอาคารผลิต จะต้องอยู่ในทีไม่ก่อเกิดการปนเปื้อนได้ง่าย โดยสถานทีตัวอาคารและบริเวณโดยรอบจะต้องสะอาด มีการออกแบบและก่อสร้างในลักษณะทีง่ายแก่ การบํารุงสภาพรักษาความสะอาด แยกเป็นสัดส่วนเพื่อป้องกันการปนเปื้อน บริเวณเก็บวัตถุดิบ สิ่งของหรือผลิตภัณฑ์ไม่วางชิดผนัง และผนังกั้นห้อง พื้น ฝาผนัง และเพดาน ต้องทําด้วยวัสดุที่มี ความแข็งแรง ทนทานไม่ชํารุด ผิวเรียบ ไม่ดูดซับน้ำ เพื่อลดอันตรายที่อาจเกิดขึ้นเนื่องจากความชื้น

หรือฝุ่นละอองจากการผลิต


2. เครื่องมือเครื่องจักรและอุปกรณ์ในการผลิต เครื่องมือ เครื่องจักร และอุปกรณ์ที่สัมผัสอาหาร ทําจากวัสดุที่ไม่ทําปฏิกิริยากับอาหาร ไม่เป็นพิษ ไม่เป็นสนิม แข็งแรง ทนทาน มีผิวสัมผัส และรอยเชื่อมเรียบ เพื่อ

ง่ายในการทําความสะอาด ไม่กัดกร่อน และไม่ควรทําด้วยไม้ (เนื่องจากไม้จะเกิดการเปียกชื้นและเป็นแหล่งสะสมของเชื้อรา)


3. การควบคุมกระบวนการผลิต วัตถุดิบ ส่วนผสม และภาชนะบรรจุที่มีคุณภาพ การผลิต การเก็บรักษาต้องอยู่ในสภาวะที่ป้องกันการเสื่อมสลายของอาหาร การขนย้าย และขนส่งผลิตภัณฑ์อาหาร

4. การสุขาภิบาล สิ่งอํานวยความสะดวกในการปฏิบัติงาน เช่น แหล่งน้ำที่ใช้ ห้องน้ำ

ห้องส้วม อ่างล้างมือ การป้องกันและกําจัดสัตว์และแมลง ระบบกําจัดขยะมูลฝอย และทาง

ระบายน้ำทิ้ง สิ่งต่างๆเหลานี้ช่วยเสริมให้สุขลักษณะของสถานที่และการควบคุมกระบวนการผลิตให้มีความ

ปลอดภัยมากยิ่งขึ้น

5. การบำรุงรักษาและการทำความสะอาด สภาณที่ต้องทำงานสะอาดง่าย ดูแลรักษาง่ายไม่เป็นที่สะสมของสิ่งสกปรกหรือสารปนเปื้อนต่างๆ

6. บุคลากรและสุขลักษณะ บุคลากรควรได้รับการดูแลรักษาสุขภาพและความสะอาดส่วนบุคคล รวมทั้ง

การฝึกอบรม เพื่อพัฒนาจิตสํานึกและความรู้ในการปฏิบัติงานอย่างถูกต้องและเหมาะสม


2. Specific GMP หรือ GMP เฉพาะผลิตภัณฑ์ หรือ ซึ่งเป็นข้อกําหนดที่เพิ่มเติมจาก GMP ทั่วไป เพื่อมุ่งเน้นในเรื่องความเสี่ยงและความปลอดภัยของแต่ละผลิตภัณฑ์อาหารเฉพาะมากยิ่งขึ้น


เรียบเรียงข้อมูลโดย บริษัท เอไพร์ม พลัส จำกัด

ขอบคุณแหล่งที่มาของข้อมูล


ผนังฉนวนกันร้อนโฟม PS Foam / PU Foam / PIR Foam





댓글


bottom of page