top of page
Untitled-1.png
Untitled-3.png

APrime Plus Co., Ltd.

Logo-N2.png
รูปภาพนักเขียนSale Support Team

เหล็ก HDG คือ อะไร ? What is HDG stand for?

อัปเดตเมื่อ 21 พ.ย. 2565



เหล็ก HDG คือ เหล็กชุบกัลวาไนซ์แบบจุ่มร้อน มีชื่อเรียกภาษาอังกฤษว่า Hot Dip Galvanized Steel เหล็ก HDG คือ เหล็กที่ผ่านกระบวนการเคลือบผิวด้วยซิงค์หรือกัลวาไนซ์ โดยผ่านกระบวนการจุ่มร้อนลงในบ่อกัลวาไนซ์ที่มีความเข้มข้นของสังกะสี 99 % และมีความร้อนที่ 460°C หรือ 860°F เพื่อให้กัลวาไนซ์เคลือบติดผิวเหล็กชั้นคาร์บอน ช่วยในการปกป้องผิวจากการกัดกร่อนของสนิม วันนี้จะมาไขข้อสงสัยเรืองความหนาชั้นเคลือบกัลวาไนซ์ HDG ตามมาตราฐานคือเท่าไหร่ และ เหล็ก HDG นิยมนำมาใช้ในงานโครงสร้างประเภทอะไรจึงจะเหมาะสมและคุ้มค่า พร้อมทั้งแนะนำเกร็ดความรู้เกี่ยวกับเหล็กรูปพรรณประเภทไหนที่สามารถนำมาชุบกัลวาไนซ์แบบจุ่มร้อน HDG - hot dipgalvanize ได้บ้าง


เหล็ก HDG มีความหนาชั้นเคลือบกัลวาไนซ์ตามมาตราฐานอยู่ที่เท่าไหร่ ?

ความหนาของชั้นเคลือบกัลวาไนซ์เราเรียกหน่วยวัดเป็น ไมครอน (microns) ความหนาของชั้นเคลือบกัลวาไนซ์ตามมาตราฐานเริ่มต้นที่ 45 ถึง 100 ไมครอนขึ้นไป ตามมาตรฐานสากลดังนี้ ISO 1461, ASTM a123, ASTM a153 โดยจะมีการซุ่มเทสชั้นเคลือบอย่างน้อย 3 จุด และนำค่าเฉลี่ยมาเทียบประเมินตามค่ามาตราฐานของ ASTM.


เหล็กกัลวาไนซ์ HDG เขานิยมใช้งานอะไร ?

เหล็กชุบกัลวาไนซ์นิยมนำไปใช้งานในหน่วยราชการ ภาคอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ โครงสร้างโรงเรือนปศุสัตว์ที่มีมาตราฐาน ISO ท่อเดินน้ำมันทางทะเล โครงสร้างเหล็กงานเขื่อน งานเสาไฟฟ้า งานเสาสัญญาณโทรศัพท์ งานโครงสร้างแผงโซล่าเซลล์ งานเหล็กกล่องกัลวาไนซ์สำหรับโครงสร้างขนาดใหญ่ เสาโครงสร้างท่าเรือ งานตะแกรงเหล็กกัลวาไนซ์ งานเกรทติ้งกัลวาไนซ์ งานแผงวางท่อ งานในโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ที่ต้องการชิ้นงานที่ทนต่อการกัดกร่อนของสารเคมี เป็นต้น หน่วยงานราชการ หรือ ภาคเอกชน อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ นิยมเลือกใช้เหล็ก HDG เพราะต้องการลดต้นทุนเรื่องของการซ่อมบำรุงโครงสร้างในระยะสั้นๆ เพราะการซ่อมบำรุงบ่อยอาจจะมีต้นทุนรวมแล้วสูงกว่าค่าใช้จ่ายในการชุบกัลวาไนซ์ จึงเน้นใช้วัสดุและการเคลือบผิวเหล็กให้มีอายุการใช้งานได้ยาวนานกว่า 30 ปี


เหล็ก HDG สามารถนำเหล็กรูปพรรณประเภทไหนมาชุบกัลวาไนซ์ได้บ้าง?

เหล็ก HDG คือการนำเหล็กดำ หรือ เหล็กรูปพรรณตามมาตราฐาน มอก. มาชุบลงบ่อกัลวาไนซ์ ดังนั้น จึงมีความหลากหลายทั้งเรื่องของขนาดและความหนาของเหล็ก เหล็กที่นำมาชุบกัลวาไนซ์ไม่ควรบางเกิน 2.00 มม. เพราะ เหล็กต้องจุ่มลงในบ่อที่มีความร้อนสูงถึง 460 องศาเซลเซียส ตามที่กล่าวมาข้างต้น หากผิวของเหล็กบางจนเกินไปอาจจะทำให้เหล็กเกิดความเครียดและทนความร้อนไม่ได้ อาจจะเกิดการบิดตัวได้


เอพลัส วัสดุ ขอนำเสนอเกร็ดความรู้เรื่องประเภทเหล็กและความหนาที่เหมาะสมในการเลือกใช้เหล็กชุบกัลวาไนซ์ ดังนี้



สรุปคือ เหล็กชุบกัลวาไนซ์ Hot Dip Galvanized หรือ เรียกกันทั่วไปว่า เหล็ก HDG มีกระบวนการสำคัญคือการจุ่มร้อนลงในบ่อกัลวาไนซ์เพื่อช่วยในการป้องกันสนิม ความหนาของชั้นเคลือบกัลวาไนซ์ที่เริ่มต้นที่ 45ไมครอน ถึง 100 ไมครอน ตามมาตราฐานของ ASTM123 ทำให้เหล็กมีอายุการใช้งานที่ยาวนาวกว่า 30 ปี และทนทานต่อสภาพการกัดกร่อนได้ดีกว่าการทาสีทั่วไป หน่วยงานราชการ หรือ ภาคอุตสาหกรรมใหญ่ จึงเลือกใช้เหล็กกัลวาไนซ์ HDG เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงในระยะสั้น เหล็กรูปพรรณหลากหลายประเภท เช่น เหล็กกล่อง เหล็กฉาก เหล็กรางน้ำซีชาแนล เหล็กท่อกลม เหล็กตัวซี เหล็กแผ่นเรียบ ที่มีความหนาที่เหมาะสมตั้งแต่ 2.00 มม. ขึ้นไป สามารถนำมาชุบกัลวาไนซ์ HDG ได้เพื่อช่วยปกป้องผิวจากสนิม และยืดอายุการใช้งาน เลือกใช้ให้ถูกงานแม้จะเพิ่มต้นทุนเรื่องการปกป้องผิว แต่ก็ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้เหล็กโครงสร้างได้ยาวนานขึ้น


หากยังสงสัยว่าเหล็ก HDG คืออะไร สามารถดูกระบวนการชุบกัลวาไนซ์ HDG - Hot Dip Galvanized ได้ที่

ที่มาแหล่งข้อมูล : Reference


***หากมีการคัดลอกเนื้อหา ดัดแปลง หรือ ทำซ้ำเนื้อหาส่วนหนึ่ง ส่วนใด ของบทความนี้ ทางบริษัทฯ เอไพร์ม พลัส จำกัด มีเงื่อนไขดังนี้***


  1. การนำข้อมูลส่วนหนึ่ง ส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปใช้ต้องอ้างอิงแหล่งที่มากลับถึงผู้เขียน และต้นฉนับของลิงค์บทความนี้ โดยต้องได้รับความยินยอมจาก บริษัทฯ เอไพร์ม พลัส จำกัด เป็นลายลักษณ์อักษร

  2. หากต้องการนำไป ทำซ้ำ หรือ ดัดแปลง บางส่วน ต้องอ้างอิงกลับมาที่ Link ต้นฉนับของลิงค์บทความนี้โดยได้รับความยินยอมจาก บริษัทฯ เอไพร์ม พลัส จำกัด เป็นลายลักษณ์อักษร

  3. หากมีการนำไปใช้เพื่อการค้าหรือนำไปใช้โดยละเมิดรายละเอียด ข้อ 1ข้อ 2 และ ข้อ 3 โดยไม่ได้รับความยินยอมจาก บริษัท เอไพร์ม พลัส จำกัด ทางบริษัทฯ มีสิทธิ์ขอเรียกเก็บค่าใช้จ่าย บทความและผู้ละเมิดยินดีและยินยอมจ่าย ค่าลิขสิทธิ์บทความ บทความละ 10,000 บาท ก่อนภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยไม่มีข้อโต้แย้งใดๆทั้งสิ้น สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ ฝ่ายการกฎหมาย ของบริษัท เอไพร์ม พลัส จำกัด

Comments


bottom of page