เลือกใช้เหล็กอะไรดี เหล็กดำ VS เหล็กกัลวาไนซ์(GI) ต่างกันอย่างไร
อัปเดตเมื่อ 3 พ.ค. 2565
"เลือกใช้อย่างไรให้เหมาะสมกับงาน...?"
"ใช้แทนกันได้หรือไม่...?"
"ชนิดไหนแข็งแรงกว่า...?"
"เลือกใช้อย่างไรให้เหมาะสมกับโครงสร้าง...?"
มีคำถามและข้อสงสัยจำนวนมากที่ระหว่างเหล็กกัลวาไนซ์ และ เหล็กดำ หรือ เหล็กรูปพรรณ
คำถามด้านราคาและความคุ้มค่า: ราคาเหล็กกัลวาไนซ์ VS ราคาเหล็กดำ
"เหล็กดำราคาต่างจากเหล็กกัลวาไนซ์กี่บาท"
"เหล็กกัลวาไนซ์แพงกว่าเหล็กดำเยอะไหม"
"เหล็กกัลวาไนซ์ประหยัดกว่าเหล็กดำจริงหรือไม่?
คำถามด้านการผลิต: กระบวนการเผลิตเหล็กกัลวาไนซ์ VS เหล็กดำ
"กระบวนการผลิตเหล็กเหล็กกัลวาไนซ์ผลิตต่างจากเหล็กดำอย่างไร"
"วัตถุดิบที่ใช้ต่างกันอย่างไรระหว่างเหล็กกัลวาไนซ์ VS เหล็กดำ"
คำถามด้านความแข็งแรง: ความแข็งของเหล็กกัลวาไนซ์ VS เหล็กดำ
"เหล็กกัลวไนซ์ VS เหล็กดำมีความแข็งแรงต่างกันไหม"
คำถามด้านมาตราฐาน มอก.: มาตราฐาน เหล็กกัลวไนซ์ VS เหล็กดำ
"เหล็กกัลวาไนซ์มีมาตราฐาน มอก. หรือไม่
เหล็กกัลวาไนซ์มีมาตราฐานเทียบเท่าเหล็กดำอย่างไร"
เหล็กดำ VS เหล็กกัลวาไนซ์ แตกต่างกันอย่างไร ?
ความแตกแต่งระหว่างเหล็กดำ VS เหล็กกัลวาไนซ์ : รูปลักษณ์ภายนอก
ความแตกต่างที่มองเห็นได้ชัดเจนเลยก็คือ เหล็กกัลวาไนซ์ (PRE ZINC) จะเป็นสีเงินเทา ผิวเหล็กที่มีความเงาวาว (PRE ZINC GI) ส่วนที่มีผิวสีเทาด้าน เรียกว่าผิว (PRE ZINC GA) แล้วแต่วัตถุดิบ อาจจะมีลายดอก หรือไม่มีลายดอกขึ้นอยู่กับความหนา และค่าทางโลหะของเหล็กกัลวาไนซ์ล็อตการผลิตและนำเข้า
เหล็กกัลวาไนซ์ PRE ZINC มีส่วนผสมของสังกะสี หรือ ซิงค์ ทำให้มีคุณสมบัติทนต่อการกัดกร่อนของสนิม และมีน้ำหนักเบา จึงเหมาะสำหรับการใช้งานภายนอกอาคาร หรืองานที่ต้องการโชว์ผิวของวัสดุ
ความหนาของเหล็กกัลวาไนซ์ (GI) มีการปรับความหนาเพิ่มขึ้น ตั้งแต่ 0.8 มม. ขึ้นไปจนถึง 2.9 มม. เพื่อให้ใกล้เคียงกับเหล็กรูปพรรณดำ เช่น เหล็กกล่องชนิดต่างๆ จึงสามารถนำไปใช้ในงานโครงสร้างรอง โครงสร้างหลังคา หรือโครงสร้างขนาดเล็กได้เช่นกัน ทั้งนี้เพื่อให้ช่างและเจ้าของบ้านสามารถเลือกใช้เหล็กกัลวาไนซ์ (GI) ตามความหนาที่เหมาะสมหรือต้องการได้
คำถามด้านราคาและความคุ้มค่า
ราคาเหล็กกัลวาไนซ์ VS ราคาเหล็กดำต่างกันอย่างไร
"เหล็กดำราคาต่างจากเหล็กกัลวาไนซ์เท่าไหร่"
"เหล็กกัลวาไนซ์แพงกว่าเหล็กดำเยอะไหม"
"เหล็กกัลวาไนซ์ประหยัดกว่าเหล็กดำจริงหรือไม่?
ราคาและต้นทุนค่าใช้จ่ายระหว่างเหล็กกัลวาไนซ์และเหล็กดำแยกเป็น 3 ประเด็นดังนี้
1. ราคาเหล็กกัลวาไนซ์ VS ราคาเหล็กดำ
อ้างอิงจากราคาตลาดเหล็กกัลวาไนซ์และเหล็กดำ อย่างที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า ราคาเหล็กทุกชนิดมีการผันผวนตามราคาตลาดโลก ราคาเหล็กกัลวาไนซ์ และ ราคาเหล็กดำก็มีการปรับเปลี่ยนตลอดเวลา แต่ที่ชัดเจนคือ ราคาเหล็กกัลวาไนซ์มีราคาต้นทุนการผลิตที่สุงกว่าเหล็กดำทำให้ราคาตลาดต่อ กิโลกรัม สูงกว่าเหล็กดำ เฉลี่ยที่ 15-25% ตามแต่ลักษณะขนาด และ ความหนาของเหล็กไซค์นั้นๆ ยิ่งเหล็กกัลวาไนซ์ที่มีความหนา 0.8มม -1.2มม จะมีต้นทุนการผลิตและต้นทุนการนำเข้า ต้นทุนด้านภาษีต่างๆ ที่สูงกว่าเหล็กกัลวาไนซ์ที่มีความหนาเกิน 1.20 มม.
2. ต้นทุนค่าทำสีระหว่างเหล็กกัลวาไนซ์และเหล็กดำ
โดยมาตราฐานแล้ว ช่างทั่วไปจะมีการทำสีเหล็กดำสองรองอย่างต่ำ คือ ทาทั้งสีรองพื้น 1-2ครั้งเพื่อกันสนิม และสีจริง 1 ครั้งเพื่อความสวยงาม แต่เหล็กกัลวาไนซ์(GI) มีคุณสมบัติป้องกันสนิมในตัวอยู่แล้ว จึงทำให้ช่วยลดค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ได้มากกว่าเหล็กผิวดำ เพราะใช้สีรองพื้นกันสนิมสำหรับเหล็กกัลวาไนซ์นั้น สามารถใช้ได้ปริมาณที่น้อยกว่าแค่ทาสีกันสนิมเฉพาะส่วนของรอยเชื่อม ก็เพียงพอแล้ว แต่ถ้าหากทาสีรองพื้นสำหรับเหล็กกัลวาไน์ อีกชั้น ก็จะสามารถยืดอายุการใช้งานของเหล็กกัลวาไนซ์(GI)ให้ยาวนานยิ่งขึ้นอีกด้วย การใช้เหล็กกัลวาไนซ์จึงเป็นที่นิยมในกลุ่มช่างเพราะลดตันทุนค่าสีและยังลดระยะเวลาในการทำงานลงอีกด้วย
3. ต้นทุนค่าแรงช่างและประหยัดเวลา
เนื่องจากเหล็กกัลวาไนซ์(GI) ช่วยลดขั้นตอนในการทาสีลง และไม่ต้องทาสีรองพื้นและรอให้แห้งเป็นวันๆ เหมือนเหล็กดำ ทำให้งานเสร็จเร็วขึ้น ส่งผลให้ระยะเวลาในการจ้างงาน ลดลงตามไปด้วย จึงช่วยให้เจ้าของบ้านเซฟค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ไปได้อีก แถมยังสร้างมูลค่าของงานรับเหมาได้อีกด้วย เหล็กกัลวาไนซ์จึงเป็นที่นิยมทั้งภายในกลุ่มช่าง และเจ้าของบ้าน
คำถามด้านการผลิต:
กระบวนการเผลิตเหล็กกัลวาไนซ์ VS เหล็กดำ
"กระบวนการผลิตเหล็กเหล็กกัลวาไนซ์ผลิตต่างจากเหล็กดำอย่างไร"
"วัตถุดิบที่ใช้ต่างกันอย่างไรระหว่างเหล็กกัลวาไนซ์ VS เหล็กดำ"
กระบวนการผลิตเหล็กพรีกัลวาไนซ์ (GI)
เหล็กพรีกัลวาไนซ์ (GI) มีส่วนประกอบของวัตถุดิบและกระบวนการผลิตที่ซับซ้อนหลายขั้นตอนกว่าเหล็กรูปพรรณดำ โดยมีกระบวนการผลิตแบบจุ่มร้อนด้วยกระบวนการต่อเนื่อง คือ การนำคอยส์เหล็กม้วนใหญ่จุ่มลงในบ่อชุบสังกะสี หรือ ซิงค์หลอมเหลวด้วยความร้อน 450 องศา ด้วยความเร็วสูง โดยโดยชั้นเหล็กจะถูกผ่านกระบวนการชุบ้วยความเร็วและในบ่อสังกะสีประมาณ 2 ถึง 4 วินาที และหลังจากได้คอยส์หรือเหล็กม้วนกัลวาไนซ์แล้ว จึงนำม้วนเหล็กกัลวาไนซ์มาตัด พับ ขึ้นรูปเป็นทรงต่างๆ เช่น กล่องเหลี่ยมกล่องแบน ฉากพับ ท่อกลม เป็นต้น ซึ่งโดยทั่วไปจะเรียกกันว่า เหล็กขาว หรือ เหล็กรีดเย็น
สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่บทความ เหล็กกัลวาไนซ์ GALVANIZED STEEL คืออะไร
กระบวนการผลิตเหล็กดำ Carbon (CA)
การผลิตของเหล็กดำ หรือ เหล็กรูปพรรณ จะเป็นการหล่อ หรือ นำเหล็กนำมารีดขึ้นรูปโดยไม่ต้องผ่านกระบวนการจุ่มร้อน หรือเคลือบกันสนิมจึงทำให้มีความต่างในเรื่องของตันทุนการผลิตค่อนข้างมาก แต่เหล็กดำก็เป็นเหล็กที่ได้มาตราฐานและใช้กันอย่างแพร่หลายเช่นกัน และมีมาตราฐาน มอก. ต่างๆ รองรับแต่ละผลิตภัณฑ์อย่างชัดเจน
คำถามด้านมาตราฐาน มอก.:
มาตราฐาน เหล็กกัลวไนซ์ VS เหล็กดำ
"เหล็กกัลวาไนซ์มีมาตราฐาน มอก. หรือไม่
"เหล็กกัลวาไนซ์มีมาตราฐานเทียบเท่าเหล็กดำอย่างไร"
มาตราฐานการผลิตเหล็กกล่องกัลวาไนซ์ มีหรือไม่?
เป็นอีกคำถามที่น่าสนใจและกลายเป็นเรื่องร้อนแรงของวงการเหล็กกัลวาไนซ์เช่นกัน ตั้แต่งปี 2563 เนื่องจากมีคนหันมาให้เหล็กกัลวาไนซ์กันมาขึ้น ดังนั้น สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ) ได้กำหนดให้มี มอก. 50-2561 เหล็กกล้าทรงแบนรีดเย็นเคลือบสังกะสี โดยกรรมวิธีจุ่มร้อน แผ่นม้วน แผ่นแถบ แผ่นตัด และแผ่นลูกฟูก เพื่อมาช่วยควบคุมเรื่องมาตราฐานการผลิต โดยกำหนดมาตราฐานการผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 27 สิงหาคม 2563
ดังนั้น ผู้ผลิตเหล็กกัลวาไนซ์ภายในประเทศไทยจึงเริ่มมีปรับมาตราฐานการผลิตเพื่อให้สอดคล้องและรองรับมาตราฐาน มอก.50-2561
มาตราฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเหล็กดำ
เหล็กเป็นโครงสร้างหลักที่สำคัญต่อผู้บริโภค ดังนั้นจึงต้องมาการควบคุมให้ได้มาตราฐาน ดังนั้นจึงมี มอก.ต่างๆออกมาควบคุมการผลิต อาทิเช่น
มอก. 1227-2558 เหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อน
มอก. 24-2559 เหล็กเส้นเสริมคอนกรีต : เหล็กข้ออ้อย
มอก. 20-2559 เหล็กเส้นเสริมคอนกรีต : เหล็กเส้นกลม
มอก. 50-2561 เหล็กกล้าทรงแบนรีดเย็นเคลือบสังกะสี โดยกรรมวิธีจุ่มร้อน แผ่นม้วน แผ่นแถบ แผ่นตัด และแผ่นลูกฟูก
มอก. 1227-2558 เหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อน
มอก. 1228-2561 เหล็กโครงสร้างรูปพรรณขึ้นรูปเย็น
มอก. 528-2548 เหล็กกล้าคาร์บอนทรงแบนรีดร้อน สำหรับงานทั่วไปและงานขึ้นรูป
**สามารถ download เอกสาร มอก. ได้ตามลิงค์***
คำถามด้านความแข็งแรง:
ค่าความแข็งของเหล็กกัลวาไนซ์ VS เหล็กดำ
"เหล็กกัลวาไนซ์ VS เหล็กดำมีความแข็งแรงต่างกันไหม"
"อายุการใช้งานระหว่างเหล็กกัลวาไนซ์ VS เหล็กดำต่างกันอย่างไร"
ค่าความแข็ง Yeild Strenght ของเหล็กกัลวาไนซ์ VS เหล็กดำ
ความคงทนและความแข็งแรงระหว่างเหล็กกัลวาไนซ์ ถ้ากล่าวถึงค่าความแข็งคงต้องพูดถึงค่า Yeild Strenth ของเหล็ก
เหล็กกัลวาไนซ์แบบกล่องจะมีค่าเฉลี่ยของ Yeild Strenght ประมาณ 2500 ksc หรือ 245 MPa และ มีค่า Tensile Strenght ที่ 4000 Ksc หรือ 400 MPa โดยจะมีอายุการใช้งานของเหล็กกัลวาไนซ์จะทนทานกว่า 15-20 ปี
เหล็กรูปพรรณ หรือ เหล็กกล่องดำ จะมีค่าเฉลี่ยของ Yeild Strenght ตำสุดประมาณ 2500 ksc หรือ 245 MPa ถึง 4000ksc/400 Mpa หรือมากกว่าตามประเภทและความหนา และ มีค่า Tensile Strenght ที่ 4500 Ksc หรือ 450 MPa ขึ้นไป ดังนั้นโครงสร้างขนาดใหญ่หรือโครงสร้างที่ต้องรับน้ำหนักอาคารสูงจึงเลือกใช้ เหล็กรูปพรรณที่ได้รับมาตราฐาน
สรุปจะใช้เหล็กกัลวาไนซ์หรือเหล็กดำดี
เมื่อศึกกษาถึงความแตกแต่งระหว่างเหล็กกัลวาไนซ์และเหล็กดำแล้ว ก็ต้องเข้าใจถึงโครงสร้างอาคารว่าควรใช้เหล็กแบบไหนเหล็กดำ และ เหล็กกัลวาไนซ์(GI) มีข้อดีที่แตกต่างกัน เพียงแต่ผู้รับเหมา ช่างรับเหมา หรือเจ้าของบ้าน เลือกซื้อให้เหมาะสมกับงานตามหลักวิศวกรรม ก็จะช่วยให้มั่นใจในความปลอดภัย และที่สำคัญ ประหยัดค่าใช้จ่ายในการสร้างบ้าน หรือต่อเติมได้ โดยช่างส่วนใหญ่มักจะเลือกใช้เหล็กพรีกัลวาไนซ์ เพราะเป็นเหล็กที่ใช้งานง่าย ขั้นตอนการใช้งานไม่ยุ่งยาก สามารถนำมาตัดเชื่อมได้ทันที ไม่ต้องทาสี รอสีแห้ง งานเสร็จใว หน้างานไม่เลอะ เพราะเหล็กพรีกัลวาไนซ์มีคุณสมบัติทนต่อการเกิดสนิม จึงใช้งานภายนอกได้ดี แม้ทางผู้ผลิตจะบอกว่าความแข็งแรงเทียบเท่ากับเหล็กดำ แต่ก็ยังไม่ได้รับความนิยมในการนำไปใช้ทำโครงสร้างหลักสักเท่าไหร่ เพราะฉะนั้นผู้งานควรปรึกษาวิศวะกรโครงสร้างหรือช่างผู้เชี่ยวชาญก่อนเลือกใช้ เพื่อให้เหมาะสมกับงานตามหลักวิศวกรรม บริษัท เอไพร์ม พลัส จำกัด
ยินดีให้คำปรึกษาทุกกรณี
สั่งซื้อหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
Tel : 02-894-8847 (Head Office)
095-598-2658 (Hot-Line)
Line ID : @WATSADU4U
E-mail : Info@aprimeplus.com
บทความนี้เรียบเรียงโดยทีมงานบริษัทเอไพร์ม พลัส จำกัด ©copy right All rights reserved
ขอบคุณแหล่งที่มาของข้อมูล
Comments